ผู้ก่อตั้ง
บริษัท ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ จำกัด เป็นสถาบันที่ให้บริการฝึกอบรม “ การคิดสร้างสรรค์ ” ให้แก่พนักงานในองค์กรต่างๆ
1. ทักษะการคิด ( Thinking Skill)
2. ทักษะด้านความรู้ ( Technical Skill)
3. ทักษะด้านคน ( Human Skill )
ทักษะการคิด ( Thinking Skill) ได้ชื่อว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นตัวดึงเอาทักษะความรู้มาใช้แก้ปัญหา และวางแผนทำงานให้สำเร็จ
การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) สำคัญมากในการทำงาน ผู้บริหารส่วนใหญ่อยากได้คนที่มีความคิดสรางสรรค์มาช่วยงาน เพราะคนมีความคิดสร้างสรรค์สามารถหาทางแก้ปัญหา ช่วยคิด ช่วยเสนอแนะทางเลืออกหลายๆทาง ช่วยแบ่งเบาภาระในการคิด ขณะที่คนส่วนใหญ่เห็นแต่ปัญหาแล้วคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร จึงขอให้ผู้บริหารหาทางแก้ปัญหาให้
อาจารย์รัศมี ธันยธร ผู้ก่อตั้งบริษัท ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ จำกัด เห็นว่าถ้าองค์กรจัดฝึกอบรมทักษะ “ การคิดสร้างสรรค์” ให้พนักงานได้ ผู้บริหารคงบริหารงานได้ง่ายขึ้น และงานคงสำเร็จเจริญก้าวหน้าได้เร็วขึ้น
ขณะที่อาจารย์รัศมี เรียนปริญญาโทด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ อาจารย์รัศมีพบว่า การคิดสร้างสรรค์สามารถฝึกได้ เรียนได้ นำมาใช้ในการทำงาน ใช้แก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคอยู่ ใช้พัฒนาขั้นตอนการทำงานให้ดีขึ้น และออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การให้บริการใหม่ๆ ธุรกิจใหม่ๆเพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่า และรายได้ให้แก่องค์กร
ความคิดสร้างสรรค์เรียนกันได้ ( Creativity can be learned.)
อาจารย์รัศมี ธันยธร เป็นศิษย์เอกของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ( Dr. Edward de Bono) ปรมาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์ของโลก (Creativity Guru) และเป็นวิทยากรที่ได้รับสิทธิอย่างเป็นทางการในการสอนหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ทุกหลักสูตร เพราะเรียนแล้วพิสูจน์แล้วว่าดีจริงๆ นำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ต่อการทำงาน และชีวิตประจำวันได้จริงๆ เปลี่ยนความคิดชีวิตก็เปลี่ยนจริงๆ
อาจารย์รัศมี ธันยธร จึงอยากฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ให้กับคนไทยร่วมชาติให้นำไปสร้างความสุขความเจริญให้กับองค์กร และครอบครัว จึงจัดตั้ง บริษัท ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ จำกัด ขึ้น เป็นสถาบันฝึกอบรมความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 มาจนถึงทุกวันนี้
ความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งล้ำค่าของมนุษย์
อะไรทำให้ตกหลุมรัก “ ความคิดสร้างสรรค์ ”
อะไรทำให้เริ่มศึกษา “ความคิดสร้างสรรค์”
เมื่อได้รู้ว่าที่แมนแชสเตอร์เขาบอกว่า ความคิดสร้างสรรค์ฝึกกันได้
รัศมีจึงมุ่งมั่นทุ่มเทศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ “ความคิดสร้างสรรค์” คู่ไปกับ
การเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ วิชาความคิดสร้างสรรค์
ไม่มีอยู่ในหลักสูตรปริญญาโทที่เรียนอยู่
รัศมีศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ “ความคิดสร้างสรรค์” ด้วยตัวเอง
(Self-Study) โดยไปสืบหาว่ามีใครสอนเรื่องความคิดสร้างสรรค์บ้าง จนพบ
อาจารย์ที่ Manchester Business School ชื่ออาจารย์ Tudor Richard
ขอนัดพบท่านเพื่อขอคำแนะนำว่า อยากรู้เรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์”
จะเขียนเป็นรายงานส่งอาจารย์ จะเริ่มอย่างไร ท่านให้เลขาฯเอาชื่อหนังสือ
ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์มาเป็นปึกบอกว่า ไปหาหนังสือเหล่านี้ในห้องสมุดมาอ่านก่อน เดี๋ยวจะนัดให้เข้าพบอาจารย์
และแล้วก็ได้เข้าพบอาจารย์ Tudor Richard ที่ห้องอาจารย์ พอเข้าไปพบท่านก็ยกมือสวัสดีแนะนำตัวแบบไทยๆซื่อๆ อาจารย์นั่ง,อยู่บนโต๊ะทำงานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ตรงกลางปลายสุดของห้องที่ลึกมากที่ดึงดูดตารัศมีสุดๆคือ ผนังซ้ายขวาของห้องเป็นชั้นหนังสือสูงจากพื้นขึ้นไปจรดเพดาน มีหนังสือเต็มเพียบ มีบันไดเกาะอยู่เลื่อนไปหยิบหนังสือได้ ตะลึงอย่างมาก ชอบมาก เหมือนฝันที่ได้เห็น
อาจารย์ Tudor ยิ้มแย้มแจ่มใสดี พูดต้อนรับเข้าสู่วงการของความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ท่านพูดอะฟังรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง พอจับความได้ แต่ที่สำคัญคือ ได้รับการต้อนรับขากเจ้าของบ้านที่เราหามานานอย่างเคว้งคว้าง
เขาไม่รู้จักเราเลย แต่ต้อนรับช่วยเหลือให้คำแนะนำเหมือนยอมเป็นพี่
เลี้ยงให้ ซาบซึ้งสุดจะกลั้น น้ำตาก็ค่อยๆไหลออกมา อาจารย์เห็นก็
ปลอบว่า หนูน้อย เธอไม่ได้โดเดี่ยวอีกแล้วนะ เราชอบความคิดสร้างสรรค์
แล้วเราจะเป็นมีความสุขมากนะ
อาจารย์ลุกขึ้นเอาหนังสือปกแข็งๆมายื่นให้ บอกให้เอาไปอ่าน
จะมีประโยชน์กับการเขียนรายงานเรื่อง “Creativity” เสร็จเมื่อไหร่แล้ว
ต่อยเอามาคืน แล้วก็สวัสดีลาจาก
รัศมีขอบคุณอาจารย์อย่างมากมาย แล้วอุ้มหนังสือเดินไปเปิด
ประตูจะเดินทาง ทันใดนั้นก็สะดุดแล้วหันกลับเดินไปหาอาจารย์อีกครั้ง แล้วถามท่านว่า
“ ยูไม่เคยรู้จักไอ แล้วอยู่ดีๆ เอาหนังสือให้ไอยืมตั้ง 7 เล่ม ไม่กลัวเหรอว่าไอเอาไปแล้วจะไม่เอามาคืน”
อาจารย์มองตา แล้วตอบทันทีว่า
“ ยูนึกว่าทั้งปีทั้งชาติจะมีคนแบบยูเข้ามาหาไอสักกี่คน ออกไปได้ล้วแม่หนูน้อย”
แล้วท่านก็ยิ้มกว้างแจ่มใส รัศมียิ้มเดินออกมาด้วยความชื่นใจ
จากนั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือ 7 เล่มนั้น และออกตะเวนหาหนังสือเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ที่หอสมุดกลางเพิ่มเติมจนเขียนรายงานส่งอาจารย์ที่คณะด้วยความกระตือรือร้น และสนุก ได้คะแนนสูงมากจนได้เกรด A เป็นที่ปลื้มปริ่ม ได้ได้ข้อคิดที่ว่า เวลาทำอะไรที่เราชอบ จะทำได้ดีและมีความสุข
ศึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์จริงจัง
รัศมีเรียนปริญญาโทการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มหาวิทยาลัย
นแมนเชสเตอร์ด้วยทุนบริติชเคาน์ซิลระยะเวลา 1 ปี สำเร็จเรียบร้อย
แต่ยังอยากอยู่ทำศึกษาวิจัยด้านการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้
ในการทำงานในองค์กร กรณีนี้รัศมีจึงต้องขอทุนต่อ ต้องไปเข้า
สัมภาษณ์กับคณะกรรมการพิจารณาที่สำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน
เข้าสู่วงการความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
อาจารย์ Tudor ยังเมตตาต่อเนื่อง ชวนให้รัศมีไปเรียนในห้องเรียนที่ท่านสอนนักเรียน MBA และในที่สุดก็ชวนให้ไปเข้าประชุมใหญ่ของสมาคมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมแห่งยุโรป (European Creativity and Innovation) ซึ่งจัดที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทให้รัศมีได้พบเจอกับคนที่มีอาชีพเป็น Creativity Consultant (ที่ปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์) ของหลายประเทศจากยุโรป และอมริกา รัศมีได้สัมผัสกับผู้คนอาชีพนี้แล้ว บอกตัวเองในใจว่า นี่แหละอาชีพของฉัน
Edward de Bono ปรมาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์
ชื่อ Dr.Edward de Bono (ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน) ได้รับการยกย่องเป็นที่สุดของวงการความคิดสร้างสรรค์ใน Conference ที่เนธอร์แลนด์ ดร.เดอโบโน ไม่ได้ไป แต่คนเอ่ยชื่อท่าน กล่าวขวัญถึงผลงานการเขียนของท่านกันมาก รัศมีจึงนึกได้ว่า หนังสือที่ทำให้ติดใจความคิดสร้างสรรค์นักหนาตอนศึกษาค้นคว้าเพื่อเขียนรายงานตอนแรกๆคือหนังสือชื่อ lateral Thinking เขียนโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
พบ Dr. Edward de Bono ตัวจริง
รัศมีเรียนจบจากแมนเชสเตอร์กลับมาทำงานด้านการฝึกอบรม และฝ่ายบุคคลแล้วอยากเรียนหลักสูตรของ Dr. Edward de Bono หลักสูตร Six Thinking Hats หลักสูตร Lateral Thinking เรียนแล้วเห็นว่าประเทศไทยควรมีสิ่งนี้อย่างยิ่ง
รัศมีจึงสมัครเป็น Certified Instructor คือวิทยากรู้ได้รับสิทธิอย่างเป็นทางการให้อบรมหลักสูตรของท่านในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 คือ
1. หลักสูตร Six Thinking Hats
2. หลักสูตร Lateral Thinking
3. หลักสูตร The Power of Perception
4. หลักสูตร Simplicity
5. หลักสูตร Six Value Medals
ที่มาของการก่อตั้งบริษัท ศูนย์ความคิดสร้าสรรค์ จำกัด
หลังจากรัศมีได้เรียนหลักสูตร Six Thinking Hats ของ Dr. Edward de Bono และฝึกจนคุ้นเคย และพบว่าทำให้แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์จริงๆ ช่วงปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศไทย ปัญหาเป็นแบบใหม่ที่คนไทยไม่เคยรู้จัก และก็ต้องหาทางรอดให้ได้
รัศมีมั่นใจว่าความคิดสร้างสรรค์ช่วยประเทศไทยได้แน่นอน Dr. De Bono บอกว่า “ Creativity is the Main Hope.” รัศมีจึงเริ่มเปิด ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อจัดฝึกอบรมให้คนจากบริษัทต่างๆสมัครเข้ามาเรียนหลักสูตร “ Six Thinking Hats” ที่คิดค้นโดย Dr. De Bono มีเจ้าของกิจการผู้บริหารสมัครเข้ามาเรียน และนำกลับไปแก้ปัญหา และสร้างธุรกิจใหม่ๆกันอย่างสดใสดก้าวหน้า ใครเรียนแล้วก็มักส่งลูกน้องมาเรียนอย่างต่อเนื่อง บางที่เชิญอาจารย์รัศมีปสอนเฉพาะคนในองค์กรเป็นกลุ่มๆ
www.creativitycenter.co.th
หลักสูตรที่เปิดสอน
Cresitive (creative+positive) Thinking
Six Thinking Hats
The Power of Perception
Lateral Thinking
สถานที่ตั้ง บริษัท ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ จำกัด
70/9 ซ.เทศบาลรังสรรค์เหนือ 4 ถ.เทศบาลรังสรรค์เหนือ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทร .092-404-6465
Email : cc@creativitycenter.co.th
Line ID : creativitycenter